ไม้สะเดา

      ไม้สะเดาเทียม จัดเป็นไม้โตเร็วชนิดหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติที่ดี ป็นพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ เป็นไม้ทนแล้งสามารถขึ้นได้โดยไม่เลือกดิน เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบตลอดปี ให้ร่มเงาดีมีระบบราก

หยั่งลึก ชอบแสง มีช่วงลำต้นสั้น เรือนยอดแผ่กว้างรูปไข่ เปลือกไม้ค่อนข้างหนา สีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ แก่นไม้

  มีสีน้ำตาลแดง มีความแข็งแรงและทนทานมากมีระบบรากที่แข็งแรงกว้างขวางและหยั่งลึก ในปัจจุบันเกษตรกรนิยม

ปลูกกันแพร่หลาย (ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน, 2541) สามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมเกษตรกรในการปลูกสร้างเป็น

สวนป่าเพราะมีแมลงศัตรูทำลายน้อย 

   ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : สะเดาเทียม ( Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs) แต่ สะเดาบ้าน ที่

เรียกกันทั่วๆไป หรือทางภาคใต้ เรียก เดา , กระเดา หรือ ทางภาคเหนือ เรียก สะเลียม ชื่อภาษาอังกฤษ คือ

(Neem,Nim,Margosa,Yepa,Tamaka) อยู่ในวงศ์  Meliaceae  เหมือนกัน

          

             ชื่อการค้า - ชื่อภาษาอังกฤษ  คือ   Thiam         

  ประโยชน์ของไม้

      1.  นื้อไม้สะเดามองดูคล้ายๆ กับเนื้อไม้มะฮอกกานี เหมาะสำหรับใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เช่น ทำเสาบ้าน ทำฝาบ้าน เครื่องบนรับน้ำหนักจากพวกคาน ตง และทำเฟอร์นิเจอร์เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ยังนิยมใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ เพราะไม้สะเดามี ความทนทานขัดชักเงาได้ดี ไม้เสาที่ทำจากไม้สะเดาค่อนข้างตรงแข็งแรงและปลวกไม่ค่อยทำลาย 

      2.  ในด้านเชื้อเพลิงไม้สะเดาจัดเป็นไม้ชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ฟืน ในต่างประเทศ ตามเมืองใหญ่ๆ ตอนภาคเหนือของประเทศไนจีเรียนิยมปลูกไม้สะเดาเป็นไม้เชื้อเพลิงและไม้ซุง

      3. ประโยชน์ทางยา เช่น เปลือกของรากใช้เป็นยาแก้ไข้ ผลใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นยาฆ่าเชื้อ เมล็ดทำยากำจัดศัตรูพืช เปลือกและยางของต้นใช้ย้อมสี

 (ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ จาก http://www.forest.go.th/research/Journal/Vol1_No2/insect.htm ;                                                 http://webhost.tsu.ac.th/491011074/tree03.htm ;   http://61.19.35.21/~wanpen/401/Tapagon/3.html ; 

http://my.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=164024&chapter=12 

  และรูปดอกสะเดาเทียม จาก 61.19.69.9/~m38a48/26917/fl_44.jpg )
   

ส่วนด้านล่างเป็นข้อมูลที่เห็นในเว็บไซต์อื่น นำมาลงให้อ่านกันเพิ่มเติม เพื่อความมั่นใจค่ะ

                      ขอขอบคุณ http://share.psu.ac.th/blog/marky-answer/14590

สะเดาเทียม/สะเดาช้าง

 
ถามโดย: คุณสุรัตษา  แซ่เล้า

คำถาม1. สะเดาช้างและสะเดาเทียมคือตัวเดียวกันหรือไม่?         

             2.  การปลูกและการดูแลรักษาทำอย่างไร?          

            3.  คุณภาพของเนื้อไม้เป็นอย่างไร? 

ตอบ (รวมความรู้เกี่ยวกับสะเดาเทียมค่ะ):   ชื่อสามัญ สะเดาเทียม


ชื่อวิทยาศาสตร์ Azardirachta excelsa (Jack) Jacobs   วงศ์ MELIACEAE


ชื่ออื่น สะเดาช้าง 

 (ดังนั้นคำถามข้อที่ 1  จึงตอบว่าสะเดาเทียมกับสะเดาช้างคือตัวเดียวกันค่ะ)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ สูง 30 - 40 เมตร  ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบเมื่ออายุยังน้อย เมื่อมีอายุมากขึ้นเปลือก จะแตกล่อนเป็นแผ่น ใบประกอบรูปขนนก ก้านใบยาว 20 -60 เซนติเมตร เรียงสลับกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อย เยื้องสลับกันเล็กน้อย   จำนวน  7 - 11  คู่   แผ่นใบย่อยรูปไข่ กว้าง  3 - 4  เซนติเมตร  ยาว  5 - 8   เซนติเมตร  ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ในสีเขียวอ่อน ดอกออกรวมเป็นช่อตามง่ามใบสีขาวหรือสีเขียวอ่อน ผลรูปไข่เมื่อแก่สีเหลือง ผลแก่ไม่แตก เปลือกหนา เนื้อในเมล็ดมีกลิ่นแรงมีเมล็ดเดียว 


นิเวศวิทยาพบขึ้นทั่วไปทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ส่วนมากพบขึ้นอยู่ตามเรือกสวนไร่นา


ออกดอกเดือนมีนาคม ผลแก่ พฤษภาคม - มิถุนายน


ขยายพันธุ์โดยเมล็ด


วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ดแช่ผลสุกสะเดาเทียมไว้ 1 คืน แล้วขยำให้เปลือกและเนื้อหลุดออก เหลือแต่ส่วนเมล็ดนำไปผึ่งในที่ร่มรำไร จนกระทั่งแห้งจึงนำไปเพาะ  โดยเมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 7  วัน   และใช้ช่วงเวลาที่ใช้ในการเพาะประมาณ 12 เดือน 


ประโยชน์ : เป็นไม้โตเร็ว เนื้อไม้คุณภาพดี ปลวกและมอดไม่ค่อยทำลาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือนเครื่องแกะสลัก ดอกอ่อนใช้รับประทานได้ เมล็ดนำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลง เปลือกต้มทำ ยาแก้บิดหรือท้องร่วง ต้นสะเดามีอายุยืนไปถึง 200 ปีก็มี  เป็นไม้สารพัดประโยชน์ชาวอินเดียหลายร้อยล้านคนใช้กิ่งแปลงฟันเป็นประจำมีอัตราเฉลี่ยของการเกิดโรคเหงือกและฟันน้อยกว่าหลายประเทศที่ใช้ยาสีฟันฟูออไรด์  สารสะกัดจากเม็ดสะเดาใช้เป็นยาฆ่าแมลงมากกว่าร้อยชนิด โดยเฉพาะที่มีสาร azadirachtin ซึ่งมีผู้นำไปทำยาฆ่าแมลงในเชิงอุตสาหกรรมแล้ว โดยได้รับการรับรองจากองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  นำส่วนต่างๆ ของสะเดาไปรักษาโรคได้สารพัดโรค ตั้งแต่ปวดหัวตัวร้อน เบาหวาน ไปจนถึงการบรรเทาโรคเอดส์  นอกจากนี้ยังเป็นอาหาร ยาบำรุง  เนื้อไม้สะเดายังไปทำเฟอร์นิเจอร์ที่มอดไม่กิน  ในสะเดาตัวเดียวมีปัจจัยถึง 3 ตัวคือ เป็นยา อาหาร และเป็นไม้ใช้สอยทำที่อยู่อาศัยได้ ถ้าสะเดาอายุ 20 ปี เนื้อไม้จะแกร่งเหมือนไม้แดง ไม้ประดู่ แก่นมีสีสวย ทำไม้พื้น ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ มอดไม่กิน" และคุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งคือ เป็นแปรงและยาสีฟันอย่างดี

          สะเดาปลูกง่าย โตเร็ว ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเพียงเวลา 3 ปี สะเดาโตจากเมล็ดเล็ก ๆ เป็นไม้สูงถึง 20 ฟุต สะเดาเป็นพืชอายุยืน 

 

ด้านคุณภาพเนื้อไม้  
ชื่อทางการค้า สะเดาเทียม หรือสะเดาช้าง หรือ excelsa
ชื่อทางพฤกษศาสตร์
Azadirachta excelsa (Jack)
สี
แก่นและกระพี้มีสีแตกต่างกัน แก่นจะมีสีน้ำตาลอ่อนอมชมพูเล็กน้อย กระพี้มีสีออกขาวปนเหลืองเล็กน้อย หรือขาวครีม
ลักษณะเนื้อไม้
เสี้ยนสนเล็กน้อย เนื้อละเอียด เนื้อไม้แข็งปานกลาง มีสารอะซาไดแรคติน(Azadirachtin)ในเนื้อไม้ซึ่งเป็นสารในทางขับไล่ เป็นสารยับยั้งการกินของแมลง
การใช้ประโยชน์
ใช้ทำบานหน้าต่าง ประตู โครงเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งภายใน ไม้พื้น
ความแข็งแรงต่อการดัด
800-1,000 กก./ ตร.ซม.
ความหนาแน่น
570 กก./ ลบ.ม.
ความทนทาน
มากกว่า 9 ปี
         
    วงการค้าไม้อธิบายว่าสะเดาเทียมเป็นไม้ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวมันเอง โดยเฉพาะเนื้อไม้ มอด ปลวกและแมลง มักไม่ทำ
 
อันตราย เนื้อไม้สวยงามเหมาะสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ และตกแต่งภายในอย่างไรคุณภาพเนื้อไม้พอที่จะเปรียบเทียบกับไม้ชนิด
 
อื่นๆ ในท้องตลาดได้ดังนี้          

1. ความแข็งแรง มีความแข็งแรงปานกลาง คล้ายไม้ตะเคียนทราย
     
   
2.สีของเนื้อไม้ เมื่อแปรรูปทิ้งไว้จะมีสีค่อนข้าง เป็นสีน้ำตาลแดงคล้ายไม้กระท้อน
      
  
3.ลายของเนื้อไม้ มีลวดลายสวยงามคล้ายไม้ ยมหอม ตะเคียน สามพอน และไข่เขียว
   
       
4.เกรดและราคา เปรียบเทียบได้กับไม้ตะ เคียนทราย
 
หมวดหมู่บันทึก: บริการวิชาการ
สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ 
สร้าง: 24 พฤศจิกายน 2552 13:21 แก้ไข: 24 พฤศจิกายน 2552 13:24 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]
 
 (Credit - ภาพของอัลบั้มที่เรานำมาจาก สะเดาเทียมของกรมป่าไม้ ตามลิ้งค์นี้ค่ะ www.forest.go.th/private/index.php?option=com..)
 
 
                     ด้านล่างข้อมูลเพิ่มเติม จาก หนังสือพิมพ์ " คม ชัด ลึก " ฉบับวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554
                                                 
                                                           (ขอขอบคุณ น.ส.พ.คม ขัด ลึก)